รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ออกวัดบางหอย พิมพ์ใหญ่ ปี2485 ติดรางวัลที่ 1 สามงาน
หมายเลข : 5685
พระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ออกวัดบางหอย พิมพ์ใหญ่ ปี2485 ติดรางวัลที่ 1 สามงาน
 
พระกริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพ ติดรางวัลที่ 2 โรงเรียนนายร้อยสามพราณ (28 ก.พ. 59) จัดโดยนิตยสารพระท่าพระจันทร์ (กริ่งดังกังวาล)
หมายเลข : 5315
พระกริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพ ติดรางวัลที่ 2 โรงเรียนนายร้อยสามพราณ (28 ก.พ. 59) จัดโดยนิตยสารพระท่าพระจันทร์ (กริ่งดังกังวาล)
 
พระสมเด็จอินโดจีน เนื้อผง หลวงพ่อชื่น วัดกลางคูเวียง จ.นครปฐม ประมาณปี 2481-85
หมายเลข : 7654
พระสมเด็จอินโดจีน เนื้อผง หลวงพ่อชื่น วัดกลางคูเวียง จ.นครปฐม ประมาณปี 2481-85
 
รายการใหม่เตรียมอัพเดท
หมายเลข : 4503
รายการใหม่เตรียมอัพเดท
 
พระพิมพ์นางพญา เนื้อดิน หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนครศรีอยุธยา ผิวป้ายสีผึ้งเขียว
หมายเลข : 8545
พระพิมพ์นางพญา เนื้อดิน หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนครศรีอยุธยา ผิวป้ายสีผึ้งเขียว
 
พระผงกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก พิมพ์กลีบบัว
หมายเลข : 1359
พระผงกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก พิมพ์กลีบบัว
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

พระร่วงคืบ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี


   

พระร่วงคืบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะยืน ปางประธานพร ศิลปะอยุธยา ขุนค้นพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ.2502 ณ เจดีย์พูมะเฟือง ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือของวิหารเก้าห้อง ซึ่งอยู่ในวิหารคดชั้นที่สอง พระเจดีย์ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมีทั้งสมัยอยุธยาและพระปรางค์ประธานสมัยลพบุรี พระที่พบมีทั้งพระบูชาและพระเครื่องเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อสำริด (บูชา)

ภายในกรุมีพระหลายพิมพ์ทรง อาทิเช่น พระร่วงนั่งพิมพ์ใบขี้เหล็ก พระยอดขุนพล พิมพ์คาบศร พระซุ้มชินราช พระร่วงคืบ (ดิน - ชิน) ดังที่เห็นในภาพ พระนี้มีอายุการสร้างไม่เกิน 600 ปี และสร้างในสมัยอยุธยาแน่นอน เพราะพระเจดีย์ที่บรรจุกรุพระที่เห็นนี้ มีศิลปะแบบอยุธยา พระเจดีย์ที่อยู่ทั้งในวิหารคดชั้นนอกและชั้นในนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาประมาณ 45 องค์ บังเอิญพระพิมพ์นี้ก็ไปเหมือนกับพระร่วงคืบกรุวัดราชบูรณะเข้าอีก จึงเชื่อมั่นว่าเป็นพระสมัยเดียวกัน ถ้าเรานำมาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า เป็นพระพิมพ์เดียวกัน การสันนิษฐานจึงน่าจะใกล้เคียง

ข้อสังเกตุที่น่าคำนึงถึงคือ

1. ดูลายกนกต่าง ๆ ตั้งแต่ยอดสุดเป็นลวดลายสมัยอยุธยา อันผิดไปจากพระเกตุมาลาของพระสุโขทัย และสมัยลพบุรี 2. พระพักตร์เป็นแบบอู่ทอง 3. พระศก ไม่มีลวดลาย เป็นแบบเกลี้ยงธรรมดา 4. พระเนตรอูมนูน 5. พระนาสิก มีความประสานกลมกลืนกันกับพระพักตร์ ทำวงพระพักตร์และพระเกตุมาลาคล้ายแบบสุโขทัยแต่มิได้สร้างแบบทรงเครื่องใหญ่หรือทรงเครื่องน้อย คงทำและสร้างแบบเรียบ ๆ ธรรมดา 6. พระหนุ (คาง) แบบรูปไข่ จีวรเป็นแบบห่มคลุม สิ่งประดับพระวรกายหรือองค์พระนั้นมีลักษณะเหมือนกับสมัยอื่น ๆ โดยทั่วไป

" ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ "


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.