รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8110
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ออกวัดบางหอย พิมพ์ใหญ่ ปี2485 ติดรางวัลที่ 1 สามงาน
หมายเลข : 5685
พระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ออกวัดบางหอย พิมพ์ใหญ่ ปี2485 ติดรางวัลที่ 1 สามงาน
 
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ปี2533 เนื้อผง พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 50ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปลุกเสกวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกล่องเดิม
หมายเลข : 8532
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ปี2533 เนื้อผง พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 50ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปลุกเสกวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกล่องเดิม
 
พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว เจ้าคุณศรีสัจจญาณเถร (ประหยัด) วัดสุทัศน์ กรุงเทพ ปี2496
หมายเลข : 7668
พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว เจ้าคุณศรีสัจจญาณเถร (ประหยัด) วัดสุทัศน์ กรุงเทพ ปี2496
 
พระผงกรุวัดนก (วัดสกุณาราม) จ.อ่างทอง เนื้อเขียว (ชำรุดส่วนบน)
หมายเลข : 6712
พระผงกรุวัดนก (วัดสกุณาราม) จ.อ่างทอง เนื้อเขียว (ชำรุดส่วนบน)
 
พระปิดตาเม็ดบัว เนื้อดิน กรุวัดบางสะแกนอก กรุงเทพ
หมายเลข : 8159
พระปิดตาเม็ดบัว เนื้อดิน กรุวัดบางสะแกนอก กรุงเทพ
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

ประวัติพระยาภักดีชุมพล (เจ้าพ่อพญาแล) เทพเจ้าของชาวชัยภูมิ และวัตถุมงคล


จังหวัดชัยภูมิ นับเป็นดินแดนโบราณคดีที่มีชุมชนหนาแน่นอยู่อาศัยมาตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ จากร่องรอยของการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน ภาพวาดเขียนสีตามผนังถ้ำ โครงกระดูกมนุษย์โบราณ ฯลฯ จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่าดินแดนถิ่นนี้ได้มีพัฒนาการทางด้านสังคมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มากว่า 2000-5000 ปี มาแล้ว

ชุมชนโบราณที่รับวัฒนธรรมขอมสมัยเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 16-18) บริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชีตอนบนของเขตจังหวัดชัยภูมิ ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมขอมสมัยเมืองพระนครอีกมากมาย เช่น ศิวลึงค์พระดิษฐานอยู่บนแท่นหินทราย ที่บริเวณภูโค้ง ต.นาเสียว อ.เมือง บาราย (สระน้ำ) บริเวณปรางค์กู่ อ.เมือง และ บึงอำพัน สระน้ำขนาดใหญ่ใกล้เมืองโบราณเขตอำเภอบำเหน็จณรงค์ และได้มีการค้นพบ อโรคยาศาล ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับใช้ในการรักษาโรคในสใยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพระองค์โปรดให้สร้างขึ้นทั่วพระราชอาณาจักรถึง 102 แห่ง โดยในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิได้มีการค้นพบอโรคยาศาลถึง 3 แห่ง คือ อโรคยาศาลบ้านหนองแหน ปรางค์กู่บ้านหนองบัว และ อโรคยาศาลบ้านกุดไผ่ ซึ่งแต่ละแห่งมีระยะห่างเท่ากันคือ 15 กิโลเมตร

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนครธม ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ ปราสาทบายน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์เขมรพระองค์แรกที่เปลี่ยนรูปแบบเทวาลัยให้เป็นวัดหรือโบสถ์ในพุทธศาสนา ทรงใช้ปราสาทหินให้เป็นที่พำนักสงฆ์และเป็นสถานที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา ทรงดูแลทุกข์สุขของอาราประชาราษฏร์อย่างมุ่งมั่น โดยทรงสร้างอโรคยาศาลทั่วพระราชอาณาจักรถึง 102 แห่ง สร้างศาลาที่พักคนเดินทางอีกจำนวน 121 แห่ง ทรงขยายอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมี เมืองพิมาย เป็นศูนย์กลางของการขยายอิทธิพล มีเมือง สวรรคโลก ลพบุรี ราชบุรี และ เพชรบุรี เป็นเมืองหน้าด่าน ซึ่งในการค้นพบศิลปกรรมในรูปแบบของพระพิมพ์ในพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นว่าดินแดนดังกล่าวในอดีตได้อยู่ในความปกครองของขอม โดยเฉพาะพระพุทธรูปและพระเครื่องที่พบนั้นจะมีศิลปะบายนอันเป็นยุคทองของพุทธศาสนาแห่งอาณาจักรพระนครนั่นเอง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบเมืองแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองที่ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แตต่อมาผู้คนได้อพยพไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น ปล่อยเมืองชัยภูมิให้เป็นเมืองร้าง เมืองชัยภูมิกลับมาปรากฏชื่ออีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ราวปี พ.ศ.2360 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของไทย มีการส่งเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ให้แก่ไทย นายแล ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในราชสำนักของ พระเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ ได้ลาออกจากราชสำนัก และพา นางบุญมี ซึ่งเป็นภรรยา อพยพครอบครัวพร้อมทั้งสมัครพรรคพวกรวมร้อยครอบครัวเศษ เดินทางข้ามแม่น้ำโขงจนกระทั่งมาถึง หนองบัวลำภู และพำนัก ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือน นายแลเห็นว่าหนองบัวลำภูเป็นสถานที่ไม่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐาน จึงได้พาสมัครพรรคพวกออกเดินทางต่อไปจนถึง บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาง ลำตะคอง ซึ่งอยู่ในบริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน ณ ที่แห่งนี้นายแลได้ตั้งรกรากทำมาหากินเพราะเห็นว่ามีน้ำอุดมสมบูรณ์

ในปี พ.ศ.2362 การทำมาหากินที่บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาง ลำตะคอง เริ่มฝืดเคือง นายแลได้เสาะแสวงหาทำเลใหม่ ปรากฏว่าได้ไปพบบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกไปตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่ที่ บ้านโนนน้ำอ้อม ปัจจุบันคือ บ้านชีลอง การปกครองของนายแลต่อราษฎรนั้น นายแลได้ใช้การปกครองในลักษณะพี่ปกครองน้อง สั่งสอนให้ราษฎรมีความสามัคคีปรองดองกัน ต้องช่วยกันทำมาหากินโดยให้เหตุผลแก่ราษฎรว่าการสร้างเมืองนั้น ราษฎรจะต้องมีอยู่มีกินและเป็นสุขแล้วการสร้างเมืองก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฝ่ายนางบุญมีซึ่งเป็นภรรยาของนายแลก็มิได้นิ่งดูดาย พยายามที่จะอบรมฝึกสอนหญิงชาวบ้านให้รู้จักการทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าขาว ผ้าดำ ทอซิ่นหมี่ ชาวบ้านก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขเรื่อยมา ต่อมาเมื่อนายแลเห็นว่าราษฎรของตนอยูดีมีสุขแล้ว ก็มิได้เคยลืมบุญคุณของเจ้านายเดิม จึงได้นำเครื่องบรรณาการไปถวายเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์เห็นความดีของนายแลจึงด้แต่งตั้งให้นายแลเป็นขุนภักดีชุมพล (แล)

ต่อมาขุนภักดีชุมพล (แล) เห็นว่าบ้านโนนน้ำอ้อมเริ่มแออัดและขาดแคลนน้ำ จึงจำต้องหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ ปรากฏว่าอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับบ้านโนนน้ำอ้อม ดังนั้นในปี พ.ศ.2365 ขุนภักดีชุมพล (แล) จึงได้อพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่ บ้านหลวง ซึ่งอยู่ในบริเวณ บ้านหนองหลอด และ บ้านหนองปลาเฒ่า ในปัจจุบัน และไม่ยอมส่งส่วนให้เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์อีก เพราะขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ขุนภักดีชุมพลจึงได้เข้าหาเจ้าพระยานครราชสีมาแทน เจ้าเมืองนครราชสีมารับอาสาส่งส่วยให้สยามแล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระองค์โปรดเกล้าฯ ยกให้บ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และตั้งขุนภักดีชุมพลเป็น พระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก

ในปี พ.ศ.2369 ได้เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพล (แล) และเจ้าเมืองสี่มุม (อ.จัตตุรัส จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ได้ยกทัพไปช่วยคุณหญิงโมตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป แต่ในขณะที่ทัพเจ้าอนุวงศ์กำลังแตกพ่ายนั้น เจ้าอนุวงศ์ได้สั่งให้ เจ้าสุทธิสาร (โป๋) ผู้เป็นบุตร ยกกองทัพส่วนหนึ่งไปยึดเมืองชัยภูมิและเมืองภูเขียว (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายไว้เป็นกำลังต่อต้านกองทัพจากกรุงเทพฯ

เจ้าสุทธิสารหลังจากที่ยกทัพถึงเมืองชัยภูมิแล้วนั้น ได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นพวก แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม ด้วยยังจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พวกเจ้าอนุวงศ์โกรธมาก จึงฆ่าพระยาภักดีชุมพลเสียที่บ้านหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้ระลึกถึงพระคุณท่านจึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น บัดนี้ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย ชื่อว่า ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล) มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายในเป็นที่เคารพกราบไหว้ ถือว่าเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดประมาณ 3 ก.ม. วีรกรรมครั้งนั้นจึงเป็นที่เคารพยกย่องท่านเป็น เจ้าพ่อพญาแล มาจนกระทั่งปัจจุบัน



���

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล รุ่นแรก เนื้อเงิน ค่านิยมหมื่นกว่าบาท

   

   

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล รุ่นแรก เนื้อทองแดง ค่านิยมหลักพันปลาย

   

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล รุ่นสร้างอนุสาวรีย์ ปี 2507 เนื้ออัลปาก้า ค่านิยมพันกว่าบาท

   

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล ปี 2521 พิมพ์รูปไข่ ค่านิยม เนื้อเงินหลักพันกลาง เนื้อนวะหลักพันต้น เนื้อทองแดงหลักร้อยกลาง

   

เหรียญหล่อเจ้าพ่อพญาแล ปี 2521 ค่านิยม เนื้อเงินสองหมื่นกว่าบาท เนื้อนวโลหะหลักพันปลาย

รูปหล่อนั่ง เจ้าพ่อพญาแล ปี 2521 เนื้อนวโลหะ ค่านิยมหลักพันกลาง

เจ้าพ่อพญาแล เนื้อว่าน หลังยันต์นูน ค่านิยมหลักพันต้น

เจ้าพ่อพญาแล เนื้อว่าน หลังยันต์จม ค่านิยมหลักร้อยปลาย

   

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล ปี 2535 ค่านิยม เนื้อเงินหลักร้อยปลาย เนื้อนวโลหะหลักร้อยกลาง

พระผงเจ้าพ่อพญาแล ปี 2535 ค่านิยมหลักร้อยปลาย

เหรียญฉีดพิมพ์หยดน้ำ เจ้าพ่อพญาแล ค่านิยม เนื้อเงินหลักร้อยปลาย นวโลหะหลักร้อยกลาง

ที่มา : พระยอดนิยมภาคอีสาน ชุด วัฒนธรรมขอม ... มรดกพระเครื่อง


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.