รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระผงกรุวัดคู้สลอด จ.พระนครศรีอยุธยา พิมพ์ทรงปลา (ขี่ปลา) ไม่ลงกรุ ติดรางวัลที่ 1 งาน The Sky จ.อยุธยา
หมายเลข : 5767
พระผงกรุวัดคู้สลอด จ.พระนครศรีอยุธยา พิมพ์ทรงปลา (ขี่ปลา) ไม่ลงกรุ ติดรางวัลที่ 1 งาน The Sky จ.อยุธยา
 
พระกริ่งกรมการรักษาดินแดน (กริ่ง ร.ด.) เนื้อเงิน ปี2513 หมายเลข 3313 พร้อมบัตรลายเซ็นต์เจ้ากรมการรักษาดินแดน เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ อธิษฐานจิต ติดรางวัล ที่ 2, 2
หมายเลข : 3914
พระกริ่งกรมการรักษาดินแดน (กริ่ง ร.ด.) เนื้อเงิน ปี2513 หมายเลข 3313 พร้อมบัตรลายเซ็นต์เจ้ากรมการรักษาดินแดน เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ อธิษฐานจิต ติดรางวัล ที่ 2, 2
 
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ปี2533 เนื้อผง พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 50ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปลุกเสกวัดบวรนิเวศวิหาร (ชำรุด 3 ส่วน)
หมายเลข : 8566
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ปี2533 เนื้อผง พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 50ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปลุกเสกวัดบวรนิเวศวิหาร (ชำรุด 3 ส่วน)
 
พระสมเด็จ หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี พิมพ์พระครูมูล มีหน้ามีตา เนื้อเทา
หมายเลข : 6930
พระสมเด็จ หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี พิมพ์พระครูมูล มีหน้ามีตา เนื้อเทา
 
พระผงนาคปรกหลังรูปเหมือน หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ จ.ศรีสะเกษ ปี2520
หมายเลข : 6726
พระผงนาคปรกหลังรูปเหมือน หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ จ.ศรีสะเกษ ปี2520
 
พระผงรูปเหมือนพิมพ์กลีบบัว หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา ปี2512 ออกวัดชลเฉลิมเขต (พ่อท่านแสง) จ.นราธิวาส
หมายเลข : 7322
พระผงรูปเหมือนพิมพ์กลีบบัว หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา ปี2512 ออกวัดชลเฉลิมเขต (พ่อท่านแสง) จ.นราธิวาส
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์ เจริญ อิศรางกูร)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์ เจริญ อิศรางกูร) วัดระฆังโฆษิตาราม นามฉายาว่า ญาณฉนฺโท เป็นบุตรหม่อมเจ้าถึก พระโอรสในสมเด็จพระประพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เกิดที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก เมื่อวันจันทร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง พ.ศ.2400 แล้วย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพกับบิดาแต่วัยเยาว์ เล่าเรียนอักขรสมัยในสำนักบิดา แล้วเริ่มเรียนภาษาบาลีในสำนักอาจารย์จีน พออายุได้ 7 ขวบ บิดาพาไปถวายเป็นศิษย์หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัต) เมื่อครั้งแต่ท่านยังเป็นเปรียญอยู่วัดระฆังฯ ได้เล่าเรียนพระประยัติธรรมในสำนัดหม่อมเจ้า พระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) บ้าง พระอมรเมธาจารย์ (เกษ) แต่เมื่อยังเป็นเปรียญบ้าง และในหม่อมเจ้าชุมแสงผู้เป็นลุง และพระโหราธิบดี (ชุม) ทั้ง 4 ท่านนี้เป็นพื้น นอกจากนี้ยังได้เล่าเรียนจากสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) และสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ บ้าง ตลอดจนอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายท่าน

ถึงรัชกาลที่ 5 ได้บรรพยาเป็นสามเณร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2413 ในปีนี้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระมหาปราสาท ได้เปรียญ 3 ประโยคแต่ครั้งเมื่อยังเป็นสามเณรอายุได้ 14 ปี โดยการสอบในคราวนี้มีการเข้มงวดกวดขันกว่าที่ผ่านมา เพราะในสมัยรัชกาลที่ 4 ปลายแผ่นดิน มีข้อสงสัยว่ามีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือแนะนำพระภิกษุและสามเณรที่ชอบพอ มาครั้งนี้ทรงกำชับให้สอบเอาแต่ผู้ที่มีความรู้จริง พระภิกษุสามเณรที่เข้ามาแปลในครานี้พากันสอบตกเสียโดยมาก คงได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค เพียง 12 รูป เป็นพระภิกษุ 9 รูป สามเณร 3 รูป รวมทั้งสามเณรเจริญ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ซึ่งมีอายุน้อยกว่าทุกท่านที่สอบได้ในคราวนี้

ปีชวด พ.ศ.2419 ยังเป็นสามเณรได้เข้าแปลปริยัติธรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นครั้งที่ 2 แปลได้อีก 1 ประโยค รวมเป็น 4 ประโยค ปีฉลุ พ.ศ.2421 อายุครบอุปสมบท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หม่อมเจ้าสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัต) ครั้งเมื่อยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังอุปสมบทแล้วเข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 3 ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2425 แปลได้อีก 1 ประโยค รวมเป็น 5 ประโยค

ปีกุน พ.ศ.2430 วันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามพิเศษว่า พระราชานุพัทธมุนี โปรดให้อาราณนาไปครองวัดโมลีโลกฯ เดิม ได้พระราชทานตาลปัตรแฉกหักทองขวางอย่างพระราชาคณะสามัญ ต่อมาปีมะโรง พ.ศ.2435 คราวทรงตั้งหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์เป็นที่พระธรรมเจดีย์ไปครองวัดเชตุพนฯ โปรดให้อาราธนากลับมาครองวัดระฆังฯ พระราชทานตาลปัตรพื้นแพรปักเลื่อมอย่างตาลปัตรหม่อมเจ้า ซึ่งพระพุทธุปบาทปิลันทน์ทรงอยู่ก่อนนั้นให้ถือเป็นเกียรติยศต่อมา ทั้งพระราชทานนิตยภัตเพิ่มขึ้นเสมอพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นเทพด้วย

ปีมะแม พ.ศ.2438 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพเมธี มีถานานุศักดิ์ตั้งถานานุกรมได้ 4 รูป ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2445 โปรดให้เลื่อนเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ มีถานานุศักดิ์ตั้งถานานุกรมได้ 6 รูป และหลังจากนั้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2453 โปรดให้สถาปนาเลื่อนเป็นพระพิมลธรรม มีนิตยภัต เดือนละ 32 บาท มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 8 รูป

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2464 มีการพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงสถาปนาและตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ 15 รูป หนึ่งในนั้นคือ สถาปนาพระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์ เจริญ อิศรางกูร) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ขึ้นดำรงตำแหน่งพระราชาคณะที่ พระพุทธโฆษาจารย์ มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 10 รูป

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ท่านยังมีความสามามารถยอดเยี่ยมในทางเทศน์มหาชาติชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ ท่วงทำนองในการเทศน์ของท่านเป็นที่นิยมยกย่องในยุคนั้นเป็นอย่างมาก สมัยนั้นตามวังเจ้านาย เช่น วังบางขุนพรหมซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จประทับอยู่ พระองค์ทรงโปรดให้จัดมีพระธรรมเทศนาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ พร้อมทั้งอาราธนาพระสงฆ์ซึ่งเป็นองค์พระธรรมกถึกในการเทศนาเข้าไปแสดงถวายเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยก่อนที่พระสงฆ์รูปที่จะไปแสดงพระธรรมเทศนาถวายจำจะต้องทำการฝึกซ้อมท่วงทำนองต่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสมอไป

ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) คือ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษามคธ (บาลี) เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคำโคลง 4 สุภาพ ในความภาษาไทยท่านมักจะใช้ศัพท์มคธเข้าแทรก ดั่งจะเห็นผลงานอมตะของท่านที่ได้เขียนคำโคลงรามเกียรติ์ซึ่งจารึกไว้ตามเสาระเบียงพระวิหารคต ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีปรากฏนามของท่านมาจนถึงปัจจุบันนี้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) มรณภาพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เวลา 18.35 น. ปีมะโรง พ.ศ.2471 คำนวณอายุได้ 70 ปี พรรษา 50


ที่มา : ทำเนียบสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช และ สมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, 2521


ข้อมูลประกอบ >>> พระนามพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อมูลประกอบ >>> คำโคลงรามเกียรติ์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ) แผ่นที่ 625 - 632




พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.