รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระปิดตาหลวงพ่อบุญธรรม วัดไพร่ฟ้า จ.ปทุมธานี พิมพ์ประคำรอบ เนื้อผงคลุกรัก ประมาณปี 2466-2491 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8452
พระปิดตาหลวงพ่อบุญธรรม วัดไพร่ฟ้า จ.ปทุมธานี พิมพ์ประคำรอบ เนื้อผงคลุกรัก ประมาณปี 2466-2491 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระกริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพ ติดรางวัลที่ 2 โรงเรียนนายร้อยสามพราณ (28 ก.พ. 59) จัดโดยนิตยสารพระท่าพระจันทร์ (กริ่งดังกังวาล)
หมายเลข : 5315
พระกริ่งอรหัง หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพ ติดรางวัลที่ 2 โรงเรียนนายร้อยสามพราณ (28 ก.พ. 59) จัดโดยนิตยสารพระท่าพระจันทร์ (กริ่งดังกังวาล)
 
พระประจำวัน เนื้อดิน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ออกวัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี2485 พิมพ์ปางนาคปรก ประจำวันเสาร์
หมายเลข : 6740
พระประจำวัน เนื้อดิน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ออกวัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี2485 พิมพ์ปางนาคปรก ประจำวันเสาร์
 
พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ รุ่นอนุสรณ์ 214ปีเกิด สมเด็จพุฒาจารย์โต พิมพ์พระประธาน ปี2545 เนื้อแตกลายงา หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ร่วมเสก พร้อมกล่องเดิม
หมายเลข : 7894
พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ รุ่นอนุสรณ์ 214ปีเกิด สมเด็จพุฒาจารย์โต พิมพ์พระประธาน ปี2545 เนื้อแตกลายงา หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ร่วมเสก พร้อมกล่องเดิม
 
พระสมเด็จหลวงปู่เลี่ยม วัดศรีเรืองบุญ จ.นนทบุรี เพิมพ์พระประธานฐานขาโต๊ะ เนื้อผง ประมาณปี 2470-80
หมายเลข : 7715
พระสมเด็จหลวงปู่เลี่ยม วัดศรีเรืองบุญ จ.นนทบุรี เพิมพ์พระประธานฐานขาโต๊ะ เนื้อผง ประมาณปี 2470-80
 
พระลีลา 25 ศตวรรษ ปี2500 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์พระศกจุด ปลุกเสกวัดสุทัศน์ กรุงเทพ ผิวกระจก
หมายเลข : 8598
พระลีลา 25 ศตวรรษ ปี2500 เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์พระศกจุด ปลุกเสกวัดสุทัศน์ กรุงเทพ ผิวกระจก
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

การเลือกซื้อกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายรูปพระเครื่องเบื้องต้น

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล fuji s5500

กล้องภ่ายรูปดิจิตอล fuji s5500 คือตัวแรกที่ผมเลือกใช้ เหตุผลขณะนั้นเพียงเพราะราคาไม่สูงจนเกินไป (หมื่นกว่าบาทขณะนั้น) ประกอบกับเข้าใจว่ากล้องตัวใหญ่น่าจะถ่ายรูปพระเครื่องได้ดีกว่า โดยลืมไปว่างานของเราเป็นงานขนาดเล็ก จะตัวเล็กหรือใหญ่ก็คงไม่ต่างกันเท่าไรนัก

ปัจจุบันการถ่ายรูปถือเป็นเรื่องง่ายกว่าแต่ก่อนมาก ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นระบบดิจิตอลที่ทันสมัย มีสื่อบันทึกดิจิตอลหลากหลายประเภทที่สามารถถ่ายรูปได้จำนวนมากโดยที่ไม่ต้องเกรงใจกระเป๋าสตางค์เหมือนกับการใช้กล้องฟิล์มสมัยก่อน

คงมีหลายท่านกำลังปวดหัวหรืออาจเคยปวดหัวกับเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจเลือกซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิตอลเพื่อใช้ในการทำงานบางอย่าง ด้วยปัจจุบันกล้องถ่ายรูปดิจิตอลที่จำหน่ายในท้องตลาดมีราคา สเปค และคุณสมบัติของกล้องให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ไม่กี่พันบาทไปจนกระทั้งหลาย ๆ หมื่นบาท แล้วอย่างนี้เราจะเลือกซื้อกล้องตัวไหน จะควักกระเป๋าจ่ายเท่าไหร่ เพื่อให้ได้กล้องดิจิตอลสักตัวที่มีคุณสมบัติต้องตรงกับการใช้งานของเรา

ก่อนเลือกซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิตอลสำหรับถ่ายรูปพระเครื่องสักตัว สิ่งที่ต้องไม่ลืมและนึกถึงเสมอคือลักษณะงานที่เราจะนำไปใช้เป็นอย่างไร ต้องการความละเอียดมากน้อยขนาดไหน ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะการถ่ายรูปพระเครื่องเพื่อนำภาพที่ได้นำเสนอผ่านหน้าเว็บซึ่งภาพที่ต้องการมีขนาดไม่ใหญ่มาก ความละเอียดที่ต้องการก็ไม่มากมายนัก

ฟังก์ชันและคุณสมบัติกล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องถ่ายรูปดิจิตอลในปัจจุบันได้พัฒนาและออกแบบให้สามารถได้ใช้งานได้สะดวกในแต่ละสภาพแวดล้อม มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ในที่นี้จะเน้นเฉพาะสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานในการถ่ายรูปพระเครื่องเบื้องต้นเท่านั้น

Resolution ค่า Resolution หรือ ความละเอียด ของภาพถ่ายจากกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ซึ่งกล้องตัวใหม่ ๆ ในท้องตลาดปัจจุบันจะมีค่า Resolution ที่ 6 Megapixel ขึ้นไป แต่ในงานถ่ายรูปพระเครื่องสำหรับนำเสนอผ่านหน้าเว็บนี้ ค่า Resolution 2-4 Megapixel ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เรียกได้ว่าหากเลือกซื้อกล้องใหม่ก็มองข้าม Resolution ไปได้เลย แต่ถ้าเป็นกล้องมือสองก็ดูค่า Resolution นิดนึง อย่าให้น้อยจนเกินไป (ค่า Resolution มาก บอกถึงความทันสมัยของกล้องได้อย่างนึง ดังนั้นฟังก์ชันทั่วไปของกล้องตัวนั้นก็น่าจะดีตามไปด้วย)

Macro ฟังก์ชัน Macro คือ ฟังก์ชั่นสำหรับถ่ายภาพระยะใกล้ ถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก หรือภาพที่ต้องการให้ความสำคัญกับพื้นผิวรายละเอียดของวัตถุเป็นพิเศษ จำเป็นมากในการถ่ายรูปพระเครื่อง ปัจจุบันเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเกือบทุกรุ่น

ตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับการถ่ายรูปพระเครื่อง เนื่องจากในการถ่ายรูปพระเครื่องบางครั้งการจับตัวกล้องและกดชัตเตอร์ด้วยมือทำให้ตัวกล้องสั่นไหวและโฟกัสคลาดเคลื่อน แต่ตัวกล้องรุ่นใหม่ ๆ หลายรุ่นในปัจจุบันได้ออกแบบแก้ไขการเคลื่อนไหวของโฟกัสขณะกดชัตเตอร์ได้ดี ยกตัวอย่างเช่น olympus fe 340 ที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบัน ขณะถ่ายรูปพระเครื่องก็กดชัตเตอร์ด้วยมือไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ภาพที่ได้ก็ออกมาคมชัดดี

ได้ทราบถึงฟังก์ชันและคุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเลือกซื้อกล้องถ่ายภาพดิจิตอลเพื่อใช้ถ่ายภาพพระเครื่องเบื้องต้นแล้ว จะเห็นว่าคุณสมบัติดังกล่าวล้วนมีในกล้องถ่ายรูปดิจิตอลรุ่นใหม่แทบทุกรุ่น กล้องถ่ายภาพดิจิตอลรุ่นใหม่ในท้องตลาดปัจจุบันมูลค่าเพียง 3-4 พันบาท ก็เพียงพอที่จะทำให้ท่านได้ภาพสวย ๆ สำหรับงานในส่วนนี้ ส่วนจะเลือกซื้อรุ่นไหนแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบ body ความสะดวกในการใช้งาน การทดลองใช้ก่อนซื้อ และอีกหลากหลายเหตุผลประกอบสำหรับผู้ใช้แต่ละท่าน

กล้องถ่ายรูปดิจิตอล olympus fe 340

Olympus FE 340 คือกล้องที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ราคาอยู่ในระดับกลาง (หกพันกว่าบาทขณะนั้น) ใช้ในงานถ่ายภาพพระเครื่อง และ ภาพสถานที่ท่องเที่ยว สำหรับนำเสนอผ่านหน้าเว็บ ภาพสวยงามคมชัดดี ฟังก์ชันการทำงานใช้งานง่าย สะดวกในการพกพาติดตัว

ฟังก์ชันพื้นฐานที่ควรรู้ในการถ่ายภาพพระเครื่อง : สำหรับท่านที่ค่อนข้างคุ้นเคยกับการถ่ายภาพคงรู้จักกับสิ่งที่จะพูดถึงต่อไปนี้เป็นอย่างดี แต่บางท่านที่ยังใหม่เหมือนผมเมื่อเริ่มถ่ายรูปพระเครื่องระยะแรก ๆ ซึ่งบางครั้งอาจละเลยไม่สนใจรายละเอียดเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญสำหรับการถ่ายรูปเหล่านี้เสียด้วยซ้ำ อยากให้ท่านได้ลองศึกษาและฝึกใช้ในส่วนนี้สักนิด ท่านอาจจะรู้สึกว่ากล้องถ่ายรูปไม่กี่พันบาทที่ท่านซื้อมานี่แหละใช่เลยสิ่งที่ท่านต้องการ

ความไวแสง (ISO) หากหมายถึงกล้องฟิล์มสมัยก่อน ค่า ISO คือตัวที่บอกถึงความไวต่อแสงของฟิล์มว่ามากน้อยเพียงใด ค่ายิ่งสูงแสดงว่าสามารถถ่ายภาพในสภาวะแวดล้อมที่แสงน้อยได้ดี แต่สำหรับกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ค่า ISO เสมือนนี้ ก็เหมือนตัวบ่งถึงความไวของเซนเซอร์ต่อปริมาณแสงภายนอกนั่นเอง ยิ่ง ISO สูง ก็สามารถถ่ายภาพในบริเวณที่แสงน้อยได้ดี แต่ภาพที่ได้จะมี Noise มากขึ้นตามไปด้วย

ชดเชยแสง (EV) จากระบบการวัดแสงของกล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องจะมองแสงสะท้อนจากวัตถุเป็นสีเทากลาง ท่านอาจเคยสังเกตว่าภาพที่ถ่ายจากสีขาวออกมาเป็นสีขาวหม่น สีดำอาจไม่ดำอย่างที่เห็น ผู้ผลิตจึงแก้ไขข้อผิดพลาดในส่วนนี้โดยการชดเชยแสงเข้าไปโดยค่าชดเชยแสงมีทั้งทางบวกและลบ ถ้าภาพที่ได้มืดเกินไปให้ชดเชยในทางบวก แต่ถ้าสว่างเกินไปให้ชดเชยในทางลบ แต่จะบวกลบมากน้อยแค่ไหนไม่มีข้อกำหนดตายตัว

ไวท์บาลานซ์ (WB) คือระบบปรับสมดุลแสงขาวซึ่งมีบรรจุอยู่ในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลทุกรุ่น ทำให้ภาพถ่ายที่ได้มีสีสันถูกต้อง ไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้งหรือสภาพแสงอื่น ๆ ที่มีอุณหภูมิแสงแตกต่างกัน

การกดชัตเตอร์ สำหรับการกดชัตเตอร์ด้วยมือในการถ่ายภาพนั้น จังหวะแรกให้กดชัตเตอร์ลงไปเพียงครึ่งก่อนเพื่อให้กล้องคำนวณโฟกัส หลังจากนั้นจึงกดชัตเตอร์ลงไปจนสุดเพื่อทำการถ่ายภาพ เพราะการกดชัตเตอร์จนสุดเพียงจังหวะเดียวกล้องจะทำการถ่ายภาพโดยไม่ได้คำนวณโฟกัสที่ชัดเจนทำให้ภาพที่ได้มีความเบลอไม่คมชัด



พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.