รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8311
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ปี249x ติดรางวัลที่ 3 งานประกวดนายร้อยสามพราน
หมายเลข : 5746
พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ปี249x ติดรางวัลที่ 3 งานประกวดนายร้อยสามพราน
 
พระร่วงนั่ง เนื้อชินเงิน กรุช่างกล จ.ลพบุรี พิมพ์สมาธิฐานสูง
หมายเลข : 3858
พระร่วงนั่ง เนื้อชินเงิน กรุช่างกล จ.ลพบุรี พิมพ์สมาธิฐานสูง
 
พระผงของขวัญ วัดปากน้ำภาษีเจริญ จ.กรุงเทพ รุ่น6 (รุ่นสร้างพระไตรปิฎกหินอ่อน) ปี2533 เนื้อเทา
หมายเลข : 8468
พระผงของขวัญ วัดปากน้ำภาษีเจริญ จ.กรุงเทพ รุ่น6 (รุ่นสร้างพระไตรปิฎกหินอ่อน) ปี2533 เนื้อเทา
 
พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี2496 พิมพ์ใหญ่ก้นพับ
หมายเลข : 3245
พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ ปี2496 พิมพ์ใหญ่ก้นพับ
 
พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อพัฒน์ วัดพัฒนาราม ออกวัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี2506 เนื้อเทา
หมายเลข : 7901
พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อพัฒน์ วัดพัฒนาราม ออกวัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี2506 เนื้อเทา
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

พระกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) วัดระฆังโฆสิตาราม

พระกรุวัดอัมพวัน จังหวัดนครนายก ขึ้นหัวข้อคอลัมน์นี้หลายท่านอาจรู้สึกสับสน พระกรุวัดอัมพวันจังหวัดนครนายก เกี่ยวเนื่องอะไรกับท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม และที่บางท่านว่าพระกรุนี้เป็นเหมือนหนึ่งหน่อเนื้อเชื้อสายพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร

พระกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก���พระกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก���พระกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร พื้นเพเดิมของท่านเกิดที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก (ประวัติของท่านตามลิงค์แนบท้ายด้านล่าง) ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดอัมพวัน สถานที่พบพระกรุเนื้อผงดังกล่าว

ตามประวัติ ลุงพรหม งามศรีอ่อน อดีตผู้ใหญ่บ้าน ต.บางอ้อ จังหวัดนครนายก เล่าว่า เมื่อวัยเยาว์ขณะเป็นท่านศิษย์วัดอัมพวัน ได้ติดตามหลวงปู่จันทร์ (พระครูวิสุทธิธรรมธาดา เจ้าอาวาส) และหลวงตาเณร เพื่อไปรับพระผงจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ที่วัดระฆังโฆสิตาราม

พระผงชุดดังกล่าวเดิมทีสมเด็จท่านตั้งใจจะสร้างจำนวน 84000 องค์ และบรรจุกรุไว้ ณ วัดระฆัง แต่เมื่อหลวงปู่จันทร์ (พระครูวิสุทธิธรรมธาดา เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน) และหลวงตาเณร กราบทูลสมเด็จให้ทรงทราบว่าที่วัดอัมพวันมีดำริจะก่อก่อพระสถูปเจดีย์และปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลังเก่า กำลังเสาะหาวัตถุมงคลที่จะบรรจุไว้ในพระเจดีย์

สมเด็จท่านเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงมอบพระผงชุดนี้และพระพิมพ์อื่น ๆ ให้เพื่อนำไปบรรจุไว้ ณ วัดอัมพวัน ตามประสงค์ .. ลุงพรหมยังเล่าให้ฟังอีกว่า พระผงชุดดังกล่าวที่นำลงเรือมาจากทางวัดระฆังโฆสิตารามนั้น มีที่พิมพ์สำเร็จเป็นองค์พระแล้วจำนวนสี่ปี๊บ และมีผงที่ยังพิมพ์ไม่เสร็จอีกหนึ่งปี๊บ สมเด็จท่านมอบให้พร้อมแม่พิมพ์ จากนั้นหลวงปู่จันทร์และหลวงตาเณรพร้อมพระลูกวัดได้ช่วยกันกดพิมพ์จนเสร็จสิ้น

เมื่อเตรียมพระเรียบร้อยแล้ว ม.ร.ว. จรัส อิสรางกูร (น้องชายสมเด็จ) จึงได้กราบทูลเชิญสมเด็จมาเป็นประธานบรรจุกรุ ลุงพรหมจำได้ว่าเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงน้ำมาก ม.ร.ว. จรัส จึงได้ถือเป็นโอกาสสวนสายสิญจน์ไปที่เรือนแพของท่านซึ่งค้ำถ่อมาถึงหน้าวัดเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) เป็นศิษย์หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) ศิษย์สายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ว่ากันว่าท่านได้รับผงจากเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตจำนวนมาก และเชื่อว่าเป็นมวลสารส่วนสำคัญหนึ่งในการสร้างพระผงชุดดังกล่าว ทั้งหมดคงเป็นที่มาของคำพูดที่หลายท่านว่ากันว่าพระชุดดังกล่าวคือ หน่อเนื้อเชื่อสายสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้เป็นอย่างดี

หากแต่พระชุดดังกล่าวได้นำไปบรรจุกรุไว้ ณ วัดอัมพวัน จ.นครนายก มิได้บรรจุไว้ที่วัดระฆังโฆสิตารามตามความตั้งใจของสมเด็จท่านในเบื้องต้น มิเช่นนั้น .... (ละ)

ข้อมูลประกอบ >>> ประวัติสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร)

เลือกชมรายการ >>> พระกรุวัดอัมพวัน จ.นครนายก



พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.