รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ปี249x ติดรางวัลที่ 3 งานประกวดนายร้อยสามพราน
หมายเลข : 5746
พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ปี249x ติดรางวัลที่ 3 งานประกวดนายร้อยสามพราน
 
สมเด็จแหวกม่านรัศมี หลังปลาดุก 2 ตัว เนื้อผงแหวกม่าน หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ออกวัดหนองอีดุก ปี2517 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8312
สมเด็จแหวกม่านรัศมี หลังปลาดุก 2 ตัว เนื้อผงแหวกม่าน หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท ออกวัดหนองอีดุก ปี2517 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระผงของขวัญ วัดปากน้ำภาษีเจริญ จ.กรุงเทพ รุ่น6 (รุ่นสร้างพระไตรปิฎกหินอ่อน) ปี2533 สีขาวควัญบุหรี่
หมายเลข : 7135
พระผงของขวัญ วัดปากน้ำภาษีเจริญ จ.กรุงเทพ รุ่น6 (รุ่นสร้างพระไตรปิฎกหินอ่อน) ปี2533 สีขาวควัญบุหรี่
 
พระสมเด็จ หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี รุ่นมงคลเก้า พิมพ์ฐานห้าชั้น
หมายเลข : 5009
พระสมเด็จ หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี รุ่นมงคลเก้า พิมพ์ฐานห้าชั้น
 
พระเนื้อดิน อาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ปี2496 พิมพ์ปางอุ้มบาตร
หมายเลข : 4442
พระเนื้อดิน อาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ปี2496 พิมพ์ปางอุ้มบาตร
 
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ปี2533 เนื้อผง พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 50ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปลุกเสกวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกล่องเดิม
หมายเลข : 8532
พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ปี2533 เนื้อผง พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสครอบรอบ 50ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ปลุกเสกวัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมกล่องเดิม
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

ประวัติการขุดกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา

  

พุทธศักราช 2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก เมื่อข้าศึกเข้ากรุงได้แล้ว จุดเพลิงเผาผลาญบ้านเรือน วัดวาอาราม และปราสาทราชมณเฑียรแสงเพลิงสว่างดั่งกลางวัน บ้านเมืองพินาศสิ้น พม่าได้พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังและสิ่งของทองเงินต่าง ๆ ไปมากมาย ที่ยักย้ายทรัพย์สินฝังดินซ่อนไว้คงมีบ้าง พม่าจัดแจงเก็บรวบรวมทรัพย์ทั้งขุดทั้งเผาเอาสมบัติไปไว้ทุกทัพทุกค่าย ใช้เวลาถึง 10 วัน ในจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศบอกว่ามีเศษทองหล่นเกลื่อนกลาดไปหมดตามถนนหนทางทั้งกรุงศรีอยุธยา
ความจริงก่อนหน้ากรุงศรีอยุธยาจะแตก กองทัพจีนซึ่งตั้งค่ายรบพม่าอยู่ ณ คลองสวนพลูนั้น พวกจีนคบคิดกันประมาณ 300 คนเศษ ชวนกันขึ้นไปทำลายมณฑปพระพุทธบาท เลิกเอาแผ่นเงินที่คาดพื้นและทองคำซึ่งแผ่หุ้มพระมณฑปอยู่นั้นเอาไปสิ้น แล้วเอาเพลิงเผาประมณฑปใหญ่เสีย ซึ่งจะเห็นว่าสมบัติอันมีค่าของกรุงศรีอยุธยาเริ่มถูกทำลายและสูญสิ้นในเวลาต่อมาด้วยเหตุต่าง ๆ
  

เหตุการณ์ครั้งเสียกรุงนอกจากทำให้บ้านแตกสาแหรกขาดแล้ว ตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาก็กลายเป็นเมืองร้าง ผู้คนพลเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ฝืดเคือง สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ บ้านเมืองไร้ชื่อแป ก็มีราษฎรบางพวกแสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงปากท้องด้วยการเที่ยวขุดคุ้ยแสวงหาสมบัติมีค่าในเขตกรุงเก่าและตามวัดร้าง เนื่องจากเชื่อมั่นว่าคงมีเข้าของเดิมฝังซ่อนไว้ในที่ต่าง ๆ บ้าง ก่อนที่จะถูกพม่ากวาดต้อนไป จนในที่สุดก็ลามปามขุดหาเงินทองของมีค่าตามสถูปเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปขยายกว้างออกไปด้วย ประกอบกับวัตถุจำพวกโลหะต่าง ๆ เป็นของมีค่า มีชาวจีนมารับซื้อจนได้มีการตัดชิ้นส่วนของพระพุทธรูปและศาสนวัตถุสำริดบรรทุกสำเภาส่งไปจำหน่ายเมืองจีน
ยิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนติดกัญชายาฝิ่น และการพนันมีเพิ่มมากขึ้นด้วยอิทธิพลจีน การลักขุดหาสมบัติมีค่าตามโบราณสถานก็เพิ่มขึ้นทุกที จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าถ้าไม่หาทางป้องกันก็นับวันจะยิ่งระบาดมากขึ้นแม้วัดที่มีพระสงฆ์อยู่ก็ไม่ละเว้น จึงได้มีพระราชบัญญัติเป็นหมายประกาศเขตรังวัด ผู้ร้ายขุดวัด พ.ศ.2397 ขึ้น ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบวัดหรือในแต่ละชุมชนนั้นช่วยกันดูแลรักษาศาสนสถานของตนเอง โดยทรงเห็นว่า โบราณวัตถุสถานที่ก่อด้วยอิฐ ปูน ศิลา โดยใหญ่ก็ดีเล็กก็ดี ถึงจะคร่ำคร่าชำรุดทรุดโทรมไปแล้ว ก็ยังเป็นเครื่องประดับพระนครอยู่

   

ก่อน พ.ศ.2500 ประมาณ 30 ปี วัตถุประสงค์ของคนร้ายลักขุดโบราณสถานขยายกว้างออกไป กล่าวคือมิได้มุ่งหวังวัตถุที่เป็นเงินทองและของมีค่าอย่างเดียว แต่ต้องการพระเครื่อง พระบูชาเป็นหลักเพิ่มขึ้นมา เนื่องจากความนิยมในทางเครื่องรางของขลังเริ่มแพร่หลายและมีราคาสูงกว่า เป็นเหตุให้ต่อมาทุกบ้านทุกเมืองมีข่าวการลักขุดโบราณสถานทุกชนิดถี่ขึ้น และได้ข่าวว่ามีการได้สมบัติของมีค่าด้วย โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ เดิมก็ขุดหากันตามรอบนอกเกาะเมือง ต่อมาคนร้ายได้ข้ามเข้ามาขุดภายในตัวเกาะเมือง และในที่สุดก็รุกเข้ามาขุดถึงในกลางเมืองอันเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ จนโบราณสถานพังทลายไปเกือบทุกแห่ง ไปทางไหนก็จะเห็นเจดีย์ไส้ไหลทะลักทุกองค์ ที่สมบูรณ์ไม่มีสักองค์เดียวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
ตำนานนักเลงขุดหาสมบัติที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ชื่อนายพร้อม เป็นนักขุดพระที่เก่งที่สุด รู้ว่าโบราณสถานแบบไหนขุดตรงไหนจึงจะพบสมบัติไม่เคยพลาด เล่ากันว่า เขามีลายแทงที่เก็บสมบัติโบราณหลายแห่งจึงได้เที่ยวตระเวนขุดทั่วไป เมื่อได้มาก็มอบให้เจ็กยี่ร้านขายทองดำเนินการหลอมภาชนะวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เอาแต่เนื้อทอง ทำให้เจ็กยี่ร่ำรวย ส่วนนายพร้อมตายก็เกือบไม่มีผ้าพันกาย นายพร้อมมีนิสัยสำมะเลเทเมาเป็นนักเลงหัวไม้ ต่อมาติดฝิ่นงอมแงมไม่มีสมบัติเหลือ จึงได้รวบรวมพรรคพวกเที่ยวขุดหาสมบัติจากกรุเจดีย์ต่าง ๆ และมาถูกผนังอิฐพังทับตายที่วัดมหาธาตุกรุงเก่า ( น.ส.พ. ข่าวภาพฉบับที่ 27 และสารเสรี ฉบับที่ 30 สิงหาคม 2499 ให้รายละเอียด )

      

สาเหตุที่ได้เกิดการปรับปรุงเมืองพระนครศรีอยุธยาขุดแต่งบูรณะโบราณสถานและขุดกรุพบสมบัติมีค่ามหาศาลของทางราชการคือ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเปิดสาขาพระคมนังคศิลาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เห็นบรรดาโบราณวัตถุสถานชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับ พ.ต. หลวงจบกระบวนยุทธ หัวหน้าสาขาพรรคมนังคศิลา และเป็น ส.ส. อยุธยา ได้กราบเรียนให้นายกรัฐมนตรีช่วยบูรณะเมืองประวัติศาสตร์ของชาติไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมศึกษาด้วย ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้ตั้งคณะกรรมการบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2499 และตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ในทันที
กรมศิลปากรรับผิดชอบการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานโดยเริ่มที่วัดมหาธาตุอันเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่สร้างในสมัยขุนหลวงพะงั่ว พ.ศ.1917 ก่อนในต้นเดือน สิงหาคม 2499 และในวันที่ 25 สิงหาคม ก็ได้พบเครื่องทองที่ใต้ฐานเจดีย์ชั้นบนของซากพระปรางค์องค์ใหญ่จำนวน 20 รายการ ดังนี้

1. ปลาหินเขียนลายทอง 1 ตัว ( 2 ชิ้น )
2. ตลับสิงโตทองคำฝังทับทิมตัวใหญ่ 1 ตัว
3. ทองคำเป็นรูปโคมประดับทับทิม 4 ตัว
4. ผอบหินฝาทองคำ 1 ผอบ
5. ตลับสิงโตทองคำขนาดเล็ก 1 ตัว
6. ลูกคั่นทองคำ 10 ลูก
7. กาน้ำลายครามเล็กรูปเต่า 1 กา
8. โถปริลายคราม 1 โถ
9. ลูกประหล่ำทองคำ 12 ลูก
10. จุกฝาโถทองคำ 22 อัน
11. โถกระเบื้องเล็ก 1 โถ
12. ลูกพิกุลทองคำ 1 ลูก ( 2 ชิ้น )
13. ด้ามไม้ควักปูนแก้วผลึก 1 อัน
14. โถแก้ว 1 โถ
15. ตลับทองคำมีสายสร้อยร้อย 1 ตลับ
16. เสือแก้วผลึก 1 ตัว
17. กระปุกหินฝาประดับทอง 1 อัน
18. กาน้ำลายครามรูปปักเป้า 1 กา
19. หางปลาเป็นรูปทองคำ 1 หาง
20. ทองคำทำเป็นรูปสิ่งของ 1 ชิ้นเล็ก

      

ต่อมาได้ขุดพบผอบศิลาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดสูงรวมตัวและฝาผอบ 1.05 เมตร กว้าง 0.32 เมตรสี่เหลี่ยม และได้นำขึ้นมาเปิดดู เมื่อ 30 กันยายน 2499 ปรากฏว่าภายในผอบศิลานั้นบรรจุเครื่องทองคำเต็มล้นพูนปากผอบ จำนวน 22 รายการ รวมเป็นทองคำหนัก 62 บาทเศษ ผนังข้างในผอบบุด้วยแผ่นทองคำโดยรอบ กลางผอบมีสถูปเจดีย์สวมครอบพระบรมสารีริกธาตุไว้รวบ 7 ชั้น

ชั้นที่ 1 เป็นพระสถูปทำด้วยชิน
ชั้นที่ 2 เป็นพระสถูปเงินมียอดนพศูล
ชั้นที่ 3 เป็นพระสถูปนากมียอดนราศูลฝังพลอย
ชั้นที่ 4 เป็นพระสถูปไม้สีดำยอดทองคำ
ชั้นที่ 5 เป็นพระสถูปไม้สีแดงยอดทองคำ มีทองคำเป็นปลอกรัด พระสถูปและฐานบุแผ่นทองคำ
ชั้นที่ 6 เป็นพระสถูปแก้ววางซ้อนกันเป็น 3 ชั้น คือชั้นล่างโตหน่อยเป็นแก้วโกเมน ชั้นกลางย่อมลงเป็นแก้วมรกต ชั้นยอดเล็กกว่าชั้นกลางเป็นทับทิม แล้วใช้ทองคำทำเป็นสาแหรกรัด ที่สายสาแหรกประดับมรกตเม็ดเล็ก ๆ ยอดสาแหรกติดมรกตทำเป็นลายแหลมอย่างยอดเจดีย์ ฐานรองพระสถูปแก้วเป็นทองคำมีพลอยสีต่าง ๆ วางเรียงรายไว้ 6 เม็ด
ชั้นที่ 7 เป็นตลับทองคำเล็ก ๆ เมื่อเปิดฝาออกก็มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ในน้ำมันจันทน์ สัณฐานเป็นลักษณะคล้ายเกล็ดพิมเสนสีขาวเป็นรุ้งพราว ขนาดเท่า 1 ใน 3 ของเมล็ดข้าวสาร

      

อนึ่งโดยรอบผอบศิลาที่อยู่ในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุนั้น ก็บรรจุพระพุทธรูปสำริดบ้าง พระพิมพ์เนื้อชินบ้าง พระทองคำแผ่นบ้าง กระจายอยู่ทั่วไป แต่พระพิมพ์ชินผุเปื่อยเสีย 50% ด้วยเหตุที่แช่อยู่ในน้ำนานปี ที่สำคัญคือได้พระทองคำปั๊มนูนฝีมือช่างสมัยอู่ทองเป็นแผ่นหนาสูง 48 ซ.ม. องค์หนึ่งซึ่งถือเป็นศิลปวัตถุชิ้นเอก

นอกจากนี้ยังมีพระปรางค์ทิศอยู่ที่มุมกำแพงแก้วของพระปรางค์องค์ใหญ่ (ปรางค์ประธาน) อีก 4 องค์ กรมศิลปากรได้ขุดตามที่คนร้ายขุดได้พบผอบศิลาบรรจุพระธาตุของพระสาวกและภายในผอบมีพระพุทธรูปทองคำ พระพิมพ์แผ่นทองคำ แหวนพระพุทธรูปสำริด สถูปซ้อนกัน 3 ชั้น บรรจุตลับทองคำรักษาพระธาตุองค์หนึ่งขนาดเท่าครึ่งเมล็ดข้าวสาร สีดอกพิกุลแห้ง สัณฐานคล้ายผลยอ มีปุ่มขาวงอกอยู่ 2 - 3 ปุ่มด้วย

      

จากสาเหตุข่าวการขุดกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ หรือ กรุหลวงพะงั่ว ได้พบสมบัติมีค่าเป็นอันมาก หนังสือพิมพ์ลงข่าวทุกวันแรมเดือน และประชาชนก็สนใจติดตามข่าวอยู่เสมอ จึงเป็นมูลเหตุเร่งเร้าให้คนร้ายคิดเห็นเป็นตัวอย่าง และเชื่อมั่นว่าตามประปรางค์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญกษัตริย์สร้างทั้งสิ้นนั้นคงจะมีสิ่งของมีค่าอีกเป็นจำนวนมากแน่นอน จึงชิงขุดกรุพระปรางค์ทุกองค์และเจดีย์ใหญ่สำคัญทั่วไปหมดโดยที่ทางราชการไม่สามารถจะไปเฝ้าดูแลรักษาได้ อันทำให้กรมศิลปากรมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบาย กล่าวคือนอกจากทำหน้าที่ขุดแต่งบูรณะโบราณสถานตามหลักวิชาการแล้ว จะต้องรีบขุดค้นหาวัตถุโบราณตามรอยซากเจดีย์ที่คนร้ายเคยลักขุดไว้ ตลอดจนที่คนร้ายยังไม่ได้ขุดด้วย เพราะเหตุว่า เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2500 ได้เกิดมีคนร้ายลักขุดกระพระปรางค์วัดพุทไธศวรรย์ จึงเกรงว่าทางราชการจะถูกตำหนิปล่อยให้เหตุการณ์เกิดซ้ำอย่างวัดราชบูรณะอีก ซึ่งทรัพย์สมบัติของชาติถูกทำลายสูญหายยับเยินจึงได้ขออนุมัติขุดกรุ 5 แห่ง คือ วัดไชยวัฒนาราม วัดพระราม วัดพุทธไธศวรรย์ วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดสามวิหาร เพราะตระหนักว่าถ้าขืนหล่อยทิ้งไว้คนร้ายก็จะลักขุดเสียก่อนทุกแห่งไป หลักฐานข้อมูลทางโบราณคดีประวัติศาสตร์และสมบัติมีค่านานาชนิดก็จะพลอยสูญสลายถูกทำลายหมดด้วยอย่างแน่นอน

ที่มา : เครื่องทองสมัยอยุธยา กรมศิลปากร 2548


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.