รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระปิดตาหลวงพ่อบุญธรรม วัดไพร่ฟ้า จ.ปทุมธานี พิมพ์ประคำรอบ เนื้อผงคลุกรัก ประมาณปี 2466-2491 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8452
พระปิดตาหลวงพ่อบุญธรรม วัดไพร่ฟ้า จ.ปทุมธานี พิมพ์ประคำรอบ เนื้อผงคลุกรัก ประมาณปี 2466-2491 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8110
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระปิดตา เนื้อดิน หลวงพ่ออนันต์ วัดดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี ปี2475
หมายเลข : 6563
พระปิดตา เนื้อดิน หลวงพ่ออนันต์ วัดดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี ปี2475
 
พระกรุวัดเพชร จ.สระบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินเงิน ปิดทองเดิมแต่กรุ (พบเห็นยากมาก) สร้างประมาณปี 23xx
หมายเลข : 8308
พระกรุวัดเพชร จ.สระบุรี พิมพ์สมาธิ เนื้อชินเงิน ปิดทองเดิมแต่กรุ (พบเห็นยากมาก) สร้างประมาณปี 23xx
 
พระสีวลี วัดประสาทบุญญาวาส จ.กรุงเทพ ปี2506 พิมพ์เล็ก เนื้อขาว เนื้อแตกลายงา
หมายเลข : 2745
พระสีวลี วัดประสาทบุญญาวาส จ.กรุงเทพ ปี2506 พิมพ์เล็ก เนื้อขาว เนื้อแตกลายงา
 
สังกัจจายน์ เม็ดมะก่ำ หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิตร กรุงเทพ
หมายเลข : 4000
สังกัจจายน์ เม็ดมะก่ำ หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิตร กรุงเทพ
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

หลักการพิจารณาเหรียญรุ่นแรกอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา ปี 19 แม่พิมพ์ที่ 1, 2 และ 3


ตำหนิในพิมพ์และเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นแรกอาจารย์นำ วัดดอนศาลา แบบที่ 1 (หรือบล็อคต้นแบบ)

ด้านหน้าของเหรียญ แม่พิมพ์ที่ 1

1. มีตำหนิที่หัวของตัว พ.

2. มีเนื้อเกินใต้ตัวอักษร น. ที่อ่านว่า นำ

3. ที่หัวของไม้โทเหนือตัวอักษร ก. มีตำหนิที่เกิดจากการที่ไม้โทติดแม่พิมพ์ไม่ชัด

4. เหนือตัวอักษร ศ. มีติ่งเนื้อเล็ก ๆ หรือเนื้อเกินจากตำหนิแม่พิมพ์ อยู่ติดกับด้านในของขอบเหรียญ

5. สำหรับบล็อคที่ 1 นี้ หรือบล็อคต้นแบบ ถ้าใช้แว่นขยาย 10x ส่องดู จะมีเนื้อเกินอยู่บนเหรียญเป็นเส้นเล็ก ๆ 2 เส้น อยู่ทางตอนบนทางด้านซ้ายของเหรียญ ระหว่างคำว่า ศาลา - พัทลุง เส้นแรกมีลักษณะเนื้อเกินเป็นเส้นนูนเล็ก ๆ ลากจากสระอาของคำว่า วัดดอนศาลา ไปยัง พ. ของคำว่า พัทลุง ส่วนเส้นที่ 2 มีเนื้อเกินเส้นเล็ก ๆ เช่นกัน เกิดจากด้านใต้ของพยัญชนะ ล (วัดดอนศาลา) ลากผ่านด้านใต้ของสระอา พาดแทยงลงมายังด้านล่างของเหรียญ เส้นทั้ง 2 เส้นนี้เป็นเส้นที่เกิดจากตำหนิในแม่พิมพ์ ไม่ใช่เกิดจากเส้นพิมพ์แตก และไม่ควรนำเส้นตำหนิในแม่พิมพ์ 2 เส้นนี้มาแยกเป็นบล็อคนิยม เพราะว่าในเบ้าพิมพ์ที่ 2 ก็มีเส้นทั้ง 2 เส้นนี้เช่นกัน แต่ติดแม่พิมพ์เพียงราง ๆ เท่านั้น ส่วนเบ้าพิมพ์ที่ 3 นั้น เส้นทั้ง 2 เส้นนี้ไม่ติดแม่พิมพ์เลย ทั้งที่ทั้ง 3 เบ้าพิมพ์ มาจากบล็อคต้นแบบที่มีเพียงบล็อคเดียวเท่านั้น ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า เหรียญรุ่นแรกของท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ มีบล็อคต้นแบบเพียงบล็อคเดียวเท่านั้น แต่นายช่างยิ้ม ยอดเมือง ได้นำไปกดเป็นเบ้าพิมพ์ 3 เบ้า โดยทำเป็นเบ้าพิมพ์ด้านหน้าของเหรียญเพียงด้านเดียวทั้ง 3 เบ้า จึงทำให้เหรียญของท่านอาจารย์นำ รุ่นแรก ที่ปั๊มออกมา จึงมีลักษณะเหมือนกัน หรือมีความเหมือนใกล้เคียงกันทั้ง 3 เบ้าพิมพ์ ส่วนด้านหลังของเหรียญมีบล็อคต้นแบบอยู่ด้วยกัน 3 บล็อค สำหรับปั๊มด้านหลังของเหรียญ ต่างกับด้านหน้าซึ่งมีบล็อคต้นแบบอยู่เพียงบล็อคเดียว ฉะนั้น ในการสะสมเหรียญอาจารย์นำ จึงไม่ควรแยกว่าเป็นบล็อคนิยมหรือธรรมดา เพราะว่าด้านหน้ามีบล็อคต้นแบบอยู่เพียงบล็อคเดียว จะทำให้เหรียญซึ่งมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มีราคาแพงไปโดยใช่เหตุ ข้อสำคัญคือ เหรียญที่ได้มาขอให้เป็นเหรียญแท้เท่านั้นพอ

6. ลูกนัยน์ตาทางด้านซ้ายของหลวงพ่อ จะมีตุ่มเล้ก ๆ อยู่ 2 ตุ่ม อยู่ข้างลูกนัยน์ตาทั้ง 2 ด้าน โดยตุ่มที่อยู่ทางด้านซ้ายของนัยน์ตาจะมีรอยผ่าตรงกลางตุ่มในลักษณะแนวดิ่ง

7. มีรอยพิมพ์แตกอยู่ที่กัวอักษร ย.

8. คำว่า พ.ศ. ๒๕๑๙ มีรอยตำหนิอยู่ตรงรอยขมวดที่เป็นรูปวงกลมด้านในของหมายเลข ๕ และ ๑

9. มีตุ่มลักษณะเป็นตุ่มกลมเล็ก ๆ อยู่ระหว่างริ้วจีวรของหลวงพ่อ ซึ่งอยู่เหนือดอกจันทางด้านซ้ายของเหรียญ

ด้านหลังของเหรียญ แม่พิมพ์ที่ 1

1. มีตำหนิอยู่ที่ตัวอักขระทั้ง 2 ตัว

2. มีตำหนิอยู่ที่ตัวอักขระของคำว่า วา

3. มีรอยตำหนิเป็นเส้นติดกับทางด้านล่างสุดของยันต์ลากยาวลงมาเกือบถึงตุ่มวงกลม

ตำหนิในพิมพ์และเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นแรกอาจารย์นำ วัดดอนศาลา แบบที่ 2

ด้านหน้าของเหรียญ แม่พิมพ์ที่ 2

1. มีตำหนิที่หัวของอักษร พ. เหมือนกับแบบที่ 1

2. มีเนื้อเกินใตัตัวอักษร น. ที่อ่านว่า นำ เหมือนกับแบบที่ 1

3. ที่หัวของสระไม้โทเหนืออักษร ก. มีตำหนิที่เกิดจากการที่หัวไม้โทติดแม่พิมพ์ไม่ชัด เหมือนแบบที่ 1

4. เหนือตัวอักษร ศ. มีติ่งเล็ก ๆ หรือเนื้อเกิน เกิดจากตำหนิในพิมพ์อยู่ติดกับขอบเหรียญด้านใน เหมือนแบบที่ 1

5. สำหรับแม่พิมพ์หรือเบ้าพิมพ์แบบที่ 2 นี้ มีเนื้อเกิดเป็นเส้นเล็ก ๆ 2 เส้น เช่นเดียวกันกับแม่พิมพ์ที่ 1 แต่ติดเพียงราง ๆ ทั้ง 2 เส้น โดยเส้นแรกลากจากสระอาของคำว่า ลา (ดอนศาลา) ไปยังตัวอักษร พ. ของคำว่า พัทลุง และเส้นที่ 2 เกิดจากใต้อักษร ล. ของคำว่า วัดดอนศาลา ลากผ่านด้านใต้ของสระอา พาดแทยงลงมายังด้านล่างทางด้านซ้ายของเหรียญเช่นเดียวกันสกับแม่พิมพ์หรือเบ้าพิมพ์ที่ 1 เพียงแต่ติดแม่พิมพ์ไม่ค่อยชัดเท่านั้นเอง

6. ลูกนัยน์ตาด้านซ้ายของหลวงพ่อ จะมีตุ่มเล้ก ๆ อยู่ 2 ตุ่ม อยู่ข้างลูกนัยน์ตาทั้ง 2 ด้าน โดยตุ่มที่อยู่ทางด้านซ้ายของนัยน์ตาจะมีรอยผ่าตรงกลางตุ่มในลักษณะแนวดิ่งเหมือนแบบที่ 1

7. มีรอยพิมพ์แตกอยู่ที่กัวอักษร ย. เหมือนแบบที่ 1

8. คำว่า พ.ศ. ๒๕๑๙ มีรอยตำหนิอยู่ตรงรอยขมวดที่เป็นรูปวงกลมด้านในของหมายเลข ๕ และ ๑ เหมือนแบบที่ 1

9. มีตุ่มลักษณะเป็นตุ่มกลมเล็ก ๆ อยู่ระหว่างริ้วจีวรของหลวงพ่อ ซึ่งอยู่เหนือดอกจันทางด้านซ้ายของเหรียญ เหมือนแบบที่ 1

ด้านหลังของเหรียญ แม่พิมพ์ที่ 2

1. มีรอยตำหนิอยู่ที่ตัวอักษรทั้ง 2 ตัว เช่นเดียวกันกับแบบที่ 1

2. มีรอยตำหนิหรือเนื้อเกินจากตัวอักขระของคำว่า วา

3. ไม่มีรอยของเส้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเนื้อเกินในตำหนิเหมือนกับด้านหลังของแบบที่ 1

ตำหนิในพิมพ์และเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นแรกอาจารย์นำ วัดดอนศาลา แบบที่ 3

ด้านหน้าของเหรียญ แม่พิมพ์ที่ 3

1. มีตำหนิที่หัวของอักษร พ. เหมือนกับแบบที่ 1

2. มีเนื้อเกินใตัตัวอักษร น. ที่อ่านว่า นำ เหมือนกับแบบที่ 1

3. ที่หัวของสระไม้โทเหนืออักษร ก. มีตำหนิที่เกิดจากการที่หัวไม้โทติดแม่พิมพ์ไม่ชัด เหมือนแบบที่ 1

4. ติ่งเล็ก ๆ หรือเนื้อเกินที่ติดกับขอบเหรียญด้านในมีให้เห็นน้อยมากแทบจะมองไม่เห็นเลย ไม่เหมือนกับ แบบที่ 1 และ 2 ซึ่งแลเห็นได้ชัด

5. สำหรับแม่พิมพ์หรือเบ้าพิมพ์ที่ 3 นี้ ไม่มีเนื้อเกินซึ่งเป็นเส้นเล็ก ๆ 2 เส้น เหมือนกับแม่พิมพ์ที่ 1 และ ที่ 2

6. ลูกนัยน์ตาด้านซ้ายของหลวงพ่อ จะมีตุ่มเล้ก ๆ อยู่ 2 ตุ่ม อยู่ข้างลูกนัยน์ตาทั้ง 2 ด้าน โดยตุ่มที่อยู่ทางด้านซ้ายของนัยน์ตาจะมีรอยผ่าตรงกลางตุ่มในลักษณะแนวดิ่ง เหมือนแบบที่ 1

7. ที่ตัวอักษร ย. ไม่มีตำหนิเหมือนกับแม่พิมพ์ที่ 1 และ 2

8. คำว่า พ.ศ. ๒๕๑๙ มีรอยตำหนิอยู่ตรงรอยขมวดที่เป็นรูปวงกลมด้านในของหมายเลข ๕ และ ๑ เหมือนแบบที่ 1

9. ไม่มีตุ่มเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ระหว่างริ้วจีวรของหลวงพ่อ เหมือนแบบที่ 1 และ 2

ด้านหลังของเหรียญ แม่พิมพ์ที่ 3

1. มีรอยตำหนิอยู่ที่ตัวอักษรทั้ง 2 ตัว เช่นเดียวกันกับแบบที่ 1 และ 2

2. มีตำหนิเป็นเส้นใกล้กับด้านในของขอบเหรียญลากผ่านใตัอักขระ ส่วนด้านหลังของแบบที่ 1 และ 2 ไม่มี

3. ไม่มีรอยไม่มีตำหนิอยู่เหนือตัวอักขระเหมือนแบบที่ 1 และ 2

4. ไม่มีเนื้อเกินซึ่งเป็นเส้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกับด้านหลังของแบบที่ 2

" ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ "


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.