รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระนาคปรกนางตรา กรุวัดนางตรา จ.นครศรีธรรมราช พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16 พร้อมบัตรรับรอง ป๋อง สุพรรณ
หมายเลข : 8262
พระนาคปรกนางตรา กรุวัดนางตรา จ.นครศรีธรรมราช พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16 พร้อมบัตรรับรอง ป๋อง สุพรรณ
 
พระพุทธรูปเนื้อหินทรายแกะ ยุคสมัยอาณาจักรทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8309
พระพุทธรูปเนื้อหินทรายแกะ ยุคสมัยอาณาจักรทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระร่วงนั่งเชตุพนแผงตัด เนื้อดิน จ.สุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19
หมายเลข : 8127
พระร่วงนั่งเชตุพนแผงตัด เนื้อดิน จ.สุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19
 
ชินราชก้ามปู หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม เนื้อผงใบลาน พิมพ์ตื้น
หมายเลข : 1894
ชินราชก้ามปู หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม เนื้อผงใบลาน พิมพ์ตื้น
 
หลวงพ่อทวด วัดชุมพรรังสรรค์ (วัดท่าตะเภาเหนือ) จ.ชุมพร ปี2505 หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช และคณาจารย์สายใต้ร่วมปลุกเสก
หมายเลข : 7510
หลวงพ่อทวด วัดชุมพรรังสรรค์ (วัดท่าตะเภาเหนือ) จ.ชุมพร ปี2505 หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช และคณาจารย์สายใต้ร่วมปลุกเสก
 
พระพิมพ์มเหศวร เนื้อชินเขียว จ.สุพรรณบุรี พร้อมตลับเงินลงยา
หมายเลข : 5629
พระพิมพ์มเหศวร เนื้อชินเขียว จ.สุพรรณบุรี พร้อมตลับเงินลงยา
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

การอพยพของชนชาติมอญเข้าสู่ประเทศไทย

มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดชนชาติหนึ่งในผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ ถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณพม่าตอนล่าง มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของตนเองที่ยังคงสืบต่อมาสูงคนรุ่นหลังในปัจจุบัน ทั้งทางด้านภาษา สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันชนชาติมอญจะไม่มีอาณาเขตปกครองตนเองบนแผนที่ ด้วยในอดีตบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงครามมาโดยตลอด ทั้งการแย่งชิงราชสมบัติกันเองและจากการรุกรานของข้าศึกสำคัญในขณะนั้นคือพม่า เมื่อบ้านเมืองตกเป็นของข้าศึกศัตรู ชาวมอญจึงอยู่ในสภาวะลำบางเดือดร้อนอย่างมาก มีความเป็นอยู่อย่างยากเข็ญ ถูกกดขี่รีดไถ การเกณฑ์แรงงานก่อสร้าง ทำไร่นาหาเสบียงเพื่อการสงคราม และเกณฑ์เข้ากองทัพ โดยเฉพาะในสงครามปี พ.ศ.๒๓๐๐ ถือครั้งสุดท้ายที่ชนชาติมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างเด็ดขาด ไม่สามารถทวงคืนแผ่นดินกลับมาได้อีกเลยจนทุกวันนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาสงครามดังกล่าว ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทย ณ บริเวณสถานที่ต่าง ๆ ความเจริญทางวัฒนธรรมของชนชาติมอญจึงเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยดั่งที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน


การอพยพของชนชาติมอญเข้าสู่ประเทศไทย

จากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชนชาติมอญได้เดินทางอพยพเข้าสู่ประเทศไทยหลายครั้งหลายคราด้วยกัน ครั้งสำคัญ ๆ ที่พอมีบันทึกมีดังนี้


ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2081 สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์พม่ายกกองทัพไปตีเมืองเชียงกราน (เมืองประเทศราชของไทย) มอญตอนใต้สู้ไม่ได้ก็อพยพเข้าประเทศไทยตามชายแดนเมืองตาก เมืองกาญจนบุรี สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงกรานคืนมา (หน้า 10 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2127 แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครั้งนั้นไทยเป็นประเทศราชของพม่า พระเจ้าหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง มีใบบอกให้กรุงศรีอยุธยายกทัพไปช่วยทำศึกกับเมืองอังวะที่แข็งเมือง สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปแทน ครั้งนี้พระเจ้าหงสาวดีมีแผนคิดประทุษร้ายสมเด็จพระนเรศวร เมื่อพระองค์ยกทัพไปถึงเมืองแครงในเดือน 6 ปีวอก พ.ศ.2127 ทรงได้ทราบเรื่องดังกล่างจากพระมหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ของพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ ซึ่งทราบความจากพระยามอญ 2 คน คือ พระยาเกียรติ และ พระยาราม เช่นนั้นพระองค์จึงไม่ยกทัพไปช่วยตีเมืองอังวะ กลับยกทัพเข้ากวาดต้อนครอบครัวไทย มอญ ที่เมืองแครงประมาณ 10000 คน กลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับพาพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ และพระยารามกลับกรุงศรีอยุธยาด้วย และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพของไทยที่เมืองแครง เมื่อ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ.2127 ไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป

ในครั้งนี้มีชนชาติมอญและเครือญาติของพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ พระยามราม ประมาณ 3000 คน ขออพยพเข้าไทยด้วย ทางไทยจึงจัดให้ครอบครัวมอญไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านบางลี่ บ้านบางขาม บ้านใหม่ บ้านบางเพลิง บ้านมะขามหย่อง ครอบครัวพระยาเกียรติ พระยาราม ตั้งบ้านเรือนอยู่ ข้างวัดบางขมิ้น วัดขุนแสน ญาติโยมพระมหาเถรคันฉ่องไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านหัวแหลม ใกล้วัดสบสวรรค์ พระมหาเถรคันฉ่องได้รับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระราชาคณะสงฆ์ฝ่ายรามัญอยุ่วัดมหาธาตุ (หน้า 90 - 95 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 3 พ.ศ.2136, 2139 ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อปี พ.ศ.2136 ชาวมอญรวมตัวก่อกบฏและถูกพม่าปราบปรามอย่างหนัก มอญจึงรวมตัวพาครอบครัวอพยพเข้าประเทศไทยประมาณ 10000 คนเศษ มีพระยาพะโร เจ้าเมืองพะโร เจ้าเมืองเมาะตะมะ เจ้าเมืองเมาะลำเลิง เป็นหัวหน้า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรับไว้และให้เข้าไปอยู่กับมอญที่เข้ามาอยู่ก่อนที่ บ้านใหม่ บ้านไร่ บ้านบางลี่ บ้านบางขาม บ้านฝ้าย บ้านบางเพลิง บ้านมะขามหย่อง


พ.ศ.2139 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีเพื่อแก้แค้นที่พม่ายกทัพมารุกรานไทย เป็นการยกทัพไปตีพม่าครั้งแรก พระองค์ตั้งพระหฤทัยว่าถ้าตีเมืองหงสาวดีไม่ได้คราวนี้ก็ให้ถือว่ามาตรวจดูภูมิลำเนาและดูกำลังข้าศึกให้รู้ไว้เพื่อคิดการคราวหน้า อีกประการหนึ่งถ้าตีไม่ได้ก็จะกวาดต้อนครอบครัวพลเมืองข้าศึกเป็นเชลยให้มากเพื่อตัดกำลัง และเพื่อเป็นกำลังของเมืองไทย พระองค์ทรงยกทัพไปล้อมเมืองหงสาวดีอยู่ 3 เดือนจึงได้เข้าตี เมื่อวันจันทร์ เดือน 4 แรม 13 ค่ำ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากพม่ามีกำลังมาก และทรงทราบว่าพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ พระเจ้าตองอู กำลังยกกองทัพมาช่วยหงสาวดี เนื่องจากกำลังข้าศึกมากมายนักพระองค์จึงให้เลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันสงกรานต์ เดือน 5 ปีวอก พ.ศ.2139 พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวมอญในหัวเมืองปริมณฑลหงสาวดีจำนวน 10000 คนเศษ ให้ครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่กับพวกที่อพยพเข้ามาเมื่อคราวก่อน (หน้า 154, 156 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 4 พ.ศ.2142 - 2148 แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงยกทัพไปตีหงสาวดีเป็นครั้งที่ 2 ตั้งพระหฤทัยว่าจะเอาหงสาวดีให้จงได้ ซึ่งขณะนั้นหงสาวดีกำลังอ่อนแอ กอรปกับเจ้าเมืองยะไข่ก็ยกทัพมาหมายจะปล้นสดมภ์เอาเมืองหงสาวดี เมื่อเจ้าเมืองหงสาวดี เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองยะไข่ทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพมา ด้วยเกรงพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ พระเจ้าตองอูจึงพาเจ้าเมืองหงสาวดีหนีไปยังเมืองตองอู เจ้าเมืองยะไข่ได้โอกาสเข้าปล้นสดมภ์หงสาวดีและเผาเมืองจนวอดวาย เมื่อทัพสมเด็จพระนเรศวรมาถึงจึงเห็นเพียงเมืองร้างว่างเปล่าไปไหม้ยังไม่ดับ เมื่อพระองค์ทราบว่าเจ้าเมืองตองอูพาเจ้าเมืองหงสาวดีหลบหนีจึงเสด็จทัพตามไปหมายจะเอาเมืองตองอูให้จงได้ แต่เมื่อเสด็จไปถึงก็เข้าฤดูฝนกลางเดือน 6 ปีจอ พ.ศ.2143 พระองค์ทรงล้อมเมืองตองอูอยู่ 3 เดือน แต่ด้วยระยะทางทัพมาไกลประกอบกับไพร่พลเหนื่อยล้าทำให้ไม่สามารถไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ พระองค์จึงเสด็จทัพกลับโดยระหว่างทางได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ - ไทย ที่หงสาวดี เมาะตะมะ เมาะลำเลิง ประมาณ 20000 คน กลับเมืองไทยด้วย


พ.ศ.2147 สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่าพม่าเมืองอังวะยกทัพมาตีเมืองหน่าย (เมืองประเทศราชของไทย) พระองค์ทรงขัดเคืองพระทัยมากจึงจัดทัพไปตีเมืองอังวะ แต่ระหว่างทางพระองค์ทรงพระประชวรฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์แล้วกลายเป็นบาดทะยักทนพิษไม่ไหวสวรรคตที่เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.2148 มอญที่เข้ามาครั้งนั้นทางไทยจึงจัดให้อยู่ที่ นครนายก ส่วนแม่ทัพนายกองตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณ ปากน้ำประสบริม วัดป่าฝ้ายนอกกำแพงเมือง (หน้า 162 - 185 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 5 พ.ศ.2206 - 2207 แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งนั้นจีนฮ่อยกทัพมาตีเมืองอังวะ พระเจ้าหงสาวดีมีใบบอกถึงมังนันทมิตรผู้ครองเมืองเมาะตะมะให้เกณฑ์ทหารมอญขึ้นไปช่วยเมืองอังวะรบกับจีนฮ่อ ทหารมอญไม่เต็มใจจะไปช่วยรบหนีทัพกลางทางแล้วรวมตัวกันได้ 5000 คน มีสมิงปอ สมิงพะตะบะ ก่อการกบฏยืดเมืองเมาะตะมะจับตัวมังนันทมิตรเป็นประกัน พม่าเมื่อปราบจีนฮ่อได้แล้วจึงยกทัพมาปราบมอญกบฏ มอญกบฏเห็นทีสู้พม่าไม่ได้จึงรวบรวมพลไพร่ครอบครัวประมาณ 10000 คนเศษ อพยพเข้าเมืองไทยทางด้านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนารายณ์เมื่อทรงทราบเรื่องดังกล่าวจึงทรงโปรดให้พวกมอญที่เข้ามาในครั้งนี้ไปตั้งบ้านเรือนแถว ริมวัดตองปุ ครองคูจามในชานพระนคร อีกพวกหนึงให้ไปอยู่ที่ บ้านสามโคกเมืองปทุมธานี บ้านปากเกร็ด บ้านบางตลาด เมืองนนทบุรี (หน้า 241 - 242 ไทยรบพม่า)


พ.ศ.2207 สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองพุกาม กองทัพไทยตีได้หัวเมืองมอญทั้งปวงแล้วยกทัพล้อมเมืองพุกามอยู่ 2 เดือน พอดีกับเข้าฤดูฝนขาดเสบียงอาหารจึงยกทัพกลับ ปรากฏว่าครัวมอญอพยพตามกองทัพไทยกลับมาด้วยจำนวนหลายหมื่นคน (ประวัติศาสตร์รามัญ)


พ.ศ.2207 สุวรรณเทวะ และ ทามุมวย รวมกับชาวมอญจับตัวจักกายวอเจ้าเมืองเมาะตะมะฆ่าเสีย พม่าส่งกองทัพมาปราบ พวกมอญเห็นทีจะสู้ไม่ได้จึงรวบรวมครัวมอญได้ 10000 คนเศษ อพยพเข้าไทยทางด้านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดเกล้าให้ไปอยู่ที่ บ้านสามโคกปทุมธานี บ้านปากเกร็ดนนทบุรี เมืองราชบุรี กาญจนบุรี (ประวัติศาสตร์รามัญ)


ครั้งที่ 6 พ.ศ.2296 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยึดมอญไว้ในอำนาจ และผนวกเอาอาณาจักรหงสาวดีของมอญ ต่อมาก็ได้ยึดเอาเมืองมอญตอนใต้ไว้ทั้งหมด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชนชาติมอญก็กลายเป็นชนชาติที่ไร้แผ่นดิน พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าใช้ความโหดเหี้ยม กำจัดมอญ ฆ่าพระสงฆ์มอญที่มีความรู้สูงจำนวน 3000 รูป ใกล้เมืองย่างกุ้ง เพราะถือว่าพระสงฆ์มอญมีส่วนสำคัญที่จะทำให้มอญฟื้นคืนอำนาจได้ ฆ่าโดยการเผาทั้งเป็นพร้อมทั้งหนังสือ พระคัมภีร์ และวัดวาอารามต่าง ๆ การกดขี่ข่มเหงทางเชื้อชาติเกิดขึ้นอย่างหนัก ชาวมอญหลายหมื่นคนอพยพหนีเข้าประเทศไทยเพื่อมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย เป็นการหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพม่าที่หวังจะไม่ให้มอญได้คืนชาติ เป็นการฆ่าชาวมอญครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติมอญ (หนังสือมอญปราศจากแผ่นดิน หน้า 3)


ครั้งที่ 7 พ.ศ.2298 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ พม่ารบกับมอญที่เมืองหงสาวดี มอญยึดเมืองหงสาวดีกลับคืนได้ ต่อมาพม่าก็ยกทัพมาตีเมืองหงสาวดีและยึดกลับคืนไปได้อีกเมื่อเดือน 7 ปีฉลู พ.ศ.2300 ชาวมอญหนีอพยพเข้ามาพึ่งพระบารมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (อพยพมาหลายครั้ง) พระองค์ทรงโปรดให้รับไว้และพระราชทานพื้นที่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชานพระนคร เช่น บ้านโพธิ์สามต้น เป็นต้น (หน้า 132 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 8 พ.ศ.2317 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี มอญเมืองเมาะตะมะก่อการกบฏรวมตัวยกกำลังพลขึ้นไปตีกรุงหงสาวดี แต่พม่ามีกำลังมากกว่ายกมาจากเมืองอังวะ มอญรบสู้ไม่ได้จึงหนีอพยพเข้าเมืองไทยทางด้านแม่ละเมาเมืองตาก ด่านเจดีย์สามองค์เมืองกาญจนบุรี ลี้พลที่อพยพเข้ามามีจำนวนมากหลายหมื่นคน


พระยามอญที่เป็นหัวหน้าก่อการกบฏครั้งนี้มี 4 คน คือ พระยาเจ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ พระยากลางเมือง ตละเสี้ยง ตละเกล็บ ได้พาไพร่พลครอบครัวทรัพย์สมบัติจำนวนมากเข้ามาด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อทรงทราบว่ามอญอพยพเข้ามาอีกเป็นจำนวนมากก็ทรงดีพระทัย รับสั่งให้แม่ทัพนายกองมอญเข้ามาอยู่ในกรุง ส่วนไพร่พลและครอบครัวทรงโปรดเกล้าให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ แขวงเมืองนนทบุรี บ้านท่าทราย บ้านบางตลาด บ้านปากเกร็ด บ้านสามโคกเมืองปทุมธานี มอญที่เข้ามาอยู่ก่อนแล้วก็ชักชวนมอญที่เข้ามาทีหลังไปตั้งบ้านเรือนรวมกันตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง มอญอพยพครั้งนี้สำรวจได้ชายฉกรรจ์จำนวน 3000 กว่าคน จึงตั้งพระยาบำเรอภักดีครั้งกรุงเก่าซึ่งเป็นเชื้อสายมอญ ให้เป็นที่พระยารามัญวงศ์ มียศเสมอจตุสมภ์ เรียก จักรีมอญ เป็นหัวหน้าควบคุมกองมอญทั่วไป (หน้า 463 - 464 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 9 พ.ศ.2358 สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มอญที่เข้ามาครั้งนี้เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนเพราะพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าเกณฑ์ชาวมอญจำนวนหลายหมื่นคนหมุนเวียนกันก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ คนมอญได้รับความเดือดร้อนกันทั่วทุกเมือง จึงเป็นเหตุให้มอญอพยพเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากกว่า 40000 คน ใช้เวลาอพยพอยู่ 2 ปี คือ พ.ศ.2357 - 2358 มอญที่อพยพเข้ามาครั้งนี้เรียกว่า มอญใหม่ รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระจายอยู่กับมอญเก่าที่เป็นญาติหรือคนเมืองเดียวกันตามที่ต่าง ๆ เช่น ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสงคราม ราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม (หน้า 662 ไทยรบพม่า)


ครั้งที่ 10 พ.ศ.2367 แผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยารามัญหัวหน้าคุมครัวมอญพาครอบครัวมอญประมาณ 3000 คนเศษ อพยพหนีพม่าที่กดขี่ปราบปรามอย่างหนักเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารประเทศไทย โดยเข้ามาที่ทุ่งหลุมช้างแขวงเมืองกาญจนบุรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้พระยาสุรเสนาเป็นแม่ทัพคุมทัพออกไปรับครัวมอญเข้ากรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ครัวมอญไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหลังวัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) วัดบวรมงคล (วัดลิงขบ) และวัดตรีทศเทพ


การอพยพครั้งนี้เป็นการอพยพครั้งสุดท้ายของมอญเข้ามาประเทศไทยเป็นจำนวนมากในลักษณะหมู่คณะนับหมื่นนับพันคน แต่ก็ยังคงมีเข้ามาอีกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ (ประวัติศาสตร์รามัญ)


ที่มา : ประวัติวัดชมภูเวก โบราณสถาน
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา 5 ธ.ค. 50




พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.